สมาชิก
สมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืน ภาคเหนือ
เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชนในการร่วมกันก่อร่างสร้างขบวนเครือข่ายสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนภาคเหนือ โดยมีพี่น้องเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยา และเครือข่ายพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสานเข้าร่วม การจัดสมัชชาฯที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้ว 3 ครั้ง ได้แก่ จ. พัทลุง จ. ยโสธร และ จ. มหาสารคาม ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ถูกจัดขึ้นใน จ. ลำพูน (วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน) วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2562
ฮักแพง แบ่งปัน เมล็ดพันธุ์บ้านเฮา
“ฮักแพง แบ่งปัน เมล็ดพันธุ์บ้านเฮา” ถูกใช้เป็นชื่อตีมของงานมหกรรมพันธุกรรมพื้นบ้าน ภาคอีสาน 62 ซึ่งปีนี้ถูกจัดเป็นครั้งที่ 12 แล้ว ด้วยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกเห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมพื้นบ้านรวมถึงนวัตกรรมความรู้ต่างๆที่นำมาบอกเล่า ส่งต่อให้กับเครือข่ายที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ และการจัดงานในปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่มีการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ การติดตามสถานการณ์ด้านการเกษตรโดยการจัดเวทีอัพเดทความก้าวหน้าร่าง พ.ร.บ. เกษตรกรรมยั่งยืนที่ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ขั้นตอนกฤษฎีกาแล้ว และอีกไม่นานคาดว่าร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวจะถูกนำมาใช้และเอื้อประโยชน์ให้กับพี่น้องเกษตรกร
สืบสานพิธีกรรมบูชาแม่โพสพประจำปี 2562
ด้วยภูมินิเวศจังหวัดพัทลุงที่ติดทะเลและควน (ควนหมายถึงพื้นที่ราบสูง) การปลูกข้าวของภาคใต้จึงมี 2 รูปแบบคือข้าวนา คือปลูกในพื้นที่นาลักษณะเหมือนภาคกลางของประเทศไทย และข้าวไร่คือปลูกในพื้นที่ราบสูงตามร่องสวนใหม่ ในช่วงที่อายุยางพาราไม่เกิน 3 ปีจะยังคงมีแสงแดดส่องลงมาถึงพื้นสวน ในปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวไร่หายไปจำนวนมากเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องปลูกข้าวและพืชผักในไร่ไว้กิน ความเร่งรีบในการหาเงินเพื่อเลี้ยงชีพ มุ่งเน้นทำสวนปาล์มและยางพาราเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้พันธุ์ข้าวและวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวค่อยๆเลือนหายไป