สมาชิก
อบรมการเก็บเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ
“เมล็ดพันธุ์” ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญของการผลิตอาหาร ที่ผ่านมาเกษตรกรไทยมีการใช้เมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูกจากบริษัทพัฒนาพันธุ์ และยังคงมีแนวโน้มในความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาสายพันธุ์โดยบริษัทคือผลผลิตจะดีมากในรอบแต่ถ้าเกษตรเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อในฤดูกาลถัดไปจะทำให้คุณภาพลดลงไปเรื่อยๆ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “ลูกผสม” หรือ F1
จากสถานการณ์เมล็ดพันธุ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรหลายพื้นที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการผลิตเมล็ดพันุ์ไว้ใช้เองและได้เริ่มต้นจากคน สองคน สามคน จนพัฒนาเป็น “กลุ่มวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์” โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานกลาง (ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด) มีพี่น้องเกษตรกรที่ทำการผลิตแบบอินทรีย์แล้วยังได้ยกระดับสู่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ผักได้หลากหลายสายพันธุ์ เช่น พริก มะเขือ ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว สลัดสายพันธุ์ต่างๆ ผักชีลาว ฯลฯ และกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และวางแผนระบบการตลาด
นอกจากการพัฒนายกระดับพื้นที่การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์แล้ว การเติมเต็มความรู้ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น มีการทำงานร่วมกับนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน โดยวันที่ 26 กันยายน 2561 ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์พัฒนา ภาสอน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาช่วยเติมเต็มความรู้ด้านการเก็บเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นมะเขือเทศที่ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์มากว่า 5 ปี และที่สำคัญคือเป็นพันธุ์เปิดเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้เรื่อย ทั้งนี้ได้สรุปเนื้อหาและเทคนิคสำหรับการเก็บเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศไว้ให้กับผู้สนใจดังนี้
สวนป่าณฐารุขเวทย์
เสียงไก่ป่าขันแหบๆ ในพุ่มไม้ นกประสานเสียงจิ้บๆ เสียงอีกาแทรกขึ้นเป็นจังหวะ แสงแดดส่องเป็นสายลงระหว่างช่องต้นยางพาราคือบรรยากาศยามเช้าของสวนณฐารุขเวทย์ และตลอดทั้งวันในสวนที่สัมผัสถึงความเย็นและร่มรื่น
“การสร้างป่าความสุขเล็กๆ...ชีวิตสร้างป่า ป่าให้ชีวิต ให้เห็นความหลากหลายของธรรมชาติ” คำพูดของพี่จ๋าที่มักพูดเสมอถึงสวนแห่งนี้ สวนณฐารุขเวทย์ ตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้านคลองยอ ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยมี นางณฐา ชัยเพชร หรือ พี่จ๋า เป็นเจ้าของสวน พี่จ๋าได้เล่าถึงอดีตของสวนเดิมเป็นสวนยางพาราเชิงเดี่ยวที่มีเฉพาะต้นยางพาราเป็นหลัก พืชพรรณอื่นๆ ถูกมองว่าคือวัชพืชมักจะโดนทำลายทิ้งไปให้โล่งเตียนเพื่อไม่ให้มาแย่งอาหารต้นยางพารา ในเวลาต่อมาเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาน้ำยางพาราตก ราคาปุ๋ยแพง ทำให้พี่จ๋ากลับมามองตัวเองถึงรายจ่ายที่ใช้ในสวนยางพารา พบว่าจะอยู่ในค่าการผลิตเป็นหลัก เช่น ปุ๋ย สารเคมีกำจัดวัชพืชที่นำมาใช้ในสวนยางพารา ประกอบกับสุขภาพที่แย่ลง สิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่านั้นเมื่อเจอปัญหาปุ๋ยปลอม น้ำยางพาราเสียหายจากเคยได้ 200 กิโลกรัมกว่าๆ เหลือเพียงไม่ถึง 100 กิโลกรัม จนกระทั่งไม่ถึง 25 กิโลกรัม ปัจจุบันพี่จ๋าได้เริ่มทำป่าร่วมยางพาราแปลงที่สองของน้องสาว โดยมีแปลงของพี่จ๋าเป็นต้นแบบ สิ่งที่ต่างกันคืออายุของต้นยางพารา โดยจะเริ่มเก็บไม้ป่าไว้ก่อนในขณะที่ต้นยางพารายังอายุไม่มาก แต่เมื่อไม้ป่าพวกนี้โตก็จะหาไม้มาปลูกเพิ่มโดยสังเกตลำต้นที่ตรงแข็งแรงจะเก็บเอาไว้ ปัญหาที่พบในช่วงนี้คือฝนไม่ตกตามฤดูกาลและฝนทิ้งช่วง พี่จ๋าเล่าว่า “การสร้างป่าไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากกว่าคือการสร้างป่าในใจคน”
กินข้าวใหม่ จ.สุรินทร์
เวียนมาอีกครั้งกับเทศกาลกินข้าวใหม่ เทศกาลที่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกหลายๆพื้นที่ได้จัดไปแล้ว เช่น เชียงใหม่ ลำพูน น่าน นครปฐม ฯลฯ ครั้งนี้จัดขึ้นที่จังหวัดสุรินทร์ ที่จัดขึ้นวันที่ 4 มีนาคม 2561 แม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน สภาพอากาศก็เริ่มร้อนตามไปด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเริ่มแรกในฤดูร้อนแต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมของเกษตรกรที่นี่
ในช่วงนี้ใครเดินทางมาในพื้นที่หมู่บ้านโดนเลงใต้ ต.ทมอ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ จะสังเกตเห็นว่าชาวนาจะมีการปลูกพืชหลังนา บ้างก็ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วต่างๆ ปอเทือง ที่สามารถเห็นได้ทั่วไปทำให้ท้องทุ่งนามีสันเขียวสลับกับสีเหลืองของดอกปอเทืองที่กำลังเบ่งบาน ทำให้การจัดงานกินข้าวใหม่ของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกที่นี่มีสีสันจากท้องนามาช่วยประดับพื้นที่ให้คลายความร้อนไปได้บ้าง
ช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วง “ข้าวใหม่ ปลามัน” ของคนที่นี่ เสน่ห์ของอาหารท้องถิ่นที่นี่คือ “ปลาช่อน” ชาวบ้าน เกษตรกร สามารถหาปลาช่อนได้ค่อนข้างมากในพื้นที่แห่งนี้ พวกเขาบอกว่าช่วงนี้จะเป็นฤดูกาลที่ปลาช่อนอร่อยที่สุด และเป็นช่วงเดียวกับหลังจากที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งก็จะเข้ากันพอดีที่เกษตรกรจะมีข้าวใหม่ที่มีรสชาติหอมนุ่มกับวัตถุดิบทำอาหารท้องถิ่นทั้งผักพื้นบ้านและปลาช่อนที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบดังกล่าว หลายเมนูได้ถูกส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่รุ่นตา –ยาย บางเมนูมีการคิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่ถึงจะเมนูเดิมหรือใหม่อาหารท้องถิ่นของที่นี่ก็มีเสน่ห์เหมือนกัน