เกษตรกรรมทางเลือก มีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันไป ตามเงื่อนไขของระบบนิเวศเกาตรต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน แม้จะมีเป้าหมายที่คล้ายคลึงกันโดยเฉพาะในแง่ของความพยายามที่จะพลิกฟื้นความสามารถในการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้มีความสมบูรณ์สืบไป
ดังนั้น เกษตรกรรมทางเลือกจึงเป็นการปฏิเสธระบบวิธีการทำการเกษตรที่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อขายและเพิ่มผลผลิตให้สูงสุด โดยไม่คำนึงต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทางเลือกในการทำการเกษตรในแนวทางใหม่คือการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรที่ทำให้เกษตรกรสามารถยืนหยัดอยู่บนขาของตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งคือการหันหลังกลับมาให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อตอบสนองต่อการดำรงชีพของครอบครัวมากขึ้น ในระบบเกษตรกรรมทางเลือกนี้ เกษตรกรได้เลือกที่จะไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ซึ่งอ่อนแอต่อโรคและแมลง และต้องพึ่งพิงต่อสารเคมีการเกษตรจากบรรษัทขนาดใหญ่เกษตรกรได้เลือกที่จะไม่พึ่งการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มผลผลิต แต่หันมาใช้ระบบความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันของ สัตว์-พืช ในระบบนิเวศ เกษตรกรได้เลือกที่จะปลูกพืชหลายๆชนิดแทนที่จะเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อหลีกเหลี่ยงการพึ่งพิงต่อระบบตลาด ฯลฯ
ที่มา : หนังสือเกษตรกรรมทางเลือก : ความหมาย,ความเป็นมา,และเทคนิควิธี
คณะผู้เขียน วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ/ณรงค์ คงมาก/ฐิรวุฒิ เสนาคำ/วิฑูรย์ ปัญญากุล/ไชยา เพ็งอุ่น
Leave a Reply